วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ลูกเสือ-เนตรนารี


                   วิชาลูกเสือ-เนตรนารี : การยังชีพในป่า (คอนกรีต)

เสียชีพอย่าเสียสัตย์” เป็นคำขวัญพระราชทานของลูกเสือ สาระพื้นฐานที่สอนในวิชาลูกเสือระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา คือ กฎของลูกเสือ 10 ข้อได้แก่ 1) ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้ 2) ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ 3) ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น 4) ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก 5) ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย 6) ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ 7) ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดา และผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ 8) ลูกเสือมีใจร่าเริง และไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก 9) ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์ และ 10) ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ

ประวัติลูกเสือกิจการการลูกเสือได้เกิดขึ้นแห่งแรกของโลกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) โดย ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) เรียกย่อว่า "บี พี" สืบเนื่องจากการรบกับพวกบัวร์ (Boar) ในการรักษาเมือง “มาฟิคิง” (Mafeking) ที่แอฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2442 ซึ่ง “บี พี” ได้ตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแนมการรบ จนรบชนะข้าศึกเมื่อกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทดลองนำเด็กชาย 20 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่ “เกาะบราวน์ซี” (Browmsea Islands) ซึ่งได้ผลดีตามที่คาดหมายไว้ ปี พ.ศ. 2451 “บี พี” จึงได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ

สำหรับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษาได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมือง “มาฟิคิง” (Mafeking) ของ ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ก็ได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนให้เรียนรู้วิชาทหาร รู้จักระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) ได้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ด้วยทรงมีพระราชปรารภว่า “เมื่อ ฝึกผู้ใหญ่เป็นเสือป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้าน เมือง จากนั้น ทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ” ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ นายชัพท์ บุนนาค ซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น นายลิขิตสารสนอง”การยังชีพในป่า
เนื้อหาของวิชาลูกเสือสอนให้รู้จักใช้ชีวิตและเอาตัวรอดได้ในสถานการณ์ยากลำบาก การดำรงชีพในป่า การใช้อาวุธ การปฐมพยาบาล การทำอาหารแบบชาวป่า ล้วนเป็นการเตรียมพร้อมให้กับลูกเสือที่อาจจะต้องใช้ชีวิตด้วยความยากลำบาก เช่น ในยามสงคราม มีการสู้รบ หรือในภารกิจที่ต้องอยู่ในป่าเพื่อทำการศึกษาวิจัย สำรวจ หรือ เป็นกิจกรรมการเดินป่าเพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อน ทั้งนี้รวมถึงผู้ที่มีอาชีพที่ต้องทำงานในป่าตลอดเวลาเช่น เจ้าหน้าที่ของอุทยาน เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ทหาร ตำรวจตะเวนชายแดน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น