ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
เสียงในภาษาไทย
กำเนิดของเสียงในภาษาไทย
เสียงพูดเกิดจากการที่กระแสลมเคลื่อนที่ผ่านอวัยวะในการเกิดเสียง
ชนิดและลักษณะของเสียงในภาษาไทย
เสียงสระ
เสียงสระ เป็นเสียงสั่นสะบัด (เสียงก้อง) และเสียงผ่านโดยตรง มี ๒๔ เสียง จำแนกได้ ดังนี้
๑. สระเสียงสั้น (รัสสระ) และสระเสียงยาว (ทีฆสระ) อย่างละ ๑๒ เสียง
สระเสียงสั้น
|
สระเสียงยาว
|
๑. อะ
|
๑. อา
|
๒. อิ
|
๒. อี
|
๓. อึ
|
๓. อือ
|
๔. อุ
|
๔. อู
|
๕. เอะ
|
๕. เอ
|
๖. แอะ
|
๖. แอ
|
๗. โอะ
|
๗. โอ
|
๘. เอาะ
|
๘. ออ
|
๙. เออะ
|
๙. เออ
|
๑๐. เอียะ
|
๑๐. เอีย
|
๑๑. เอือะ
|
๑๑. เอือ
|
๑๒. อัวะ
|
๑๒. อัว
|
๒. สระเดี่ยว ๑๘ เสียง (อิ อี เอะ เอ แอะ แอ อึ อือ เออะ เออ อะ อา อุ อู โอะ โอ เอาะ ออ) และสระประสม ๖ เสียง (เอียะ เอีย เอืออะ เอือ อัวะ อัว)
๓. สระเกิน หรือสระที่มีเสียงพยัญชนะประสม มี ๘ รูป
รูปสระ
|
สระเดี่ยว
|
พยัญชนะ
|
ตัวอย่าง
|
อำ
|
อะ
|
ม สะกด
|
อำ อัม
|
ไอ
|
อะ
|
ย สะกด
|
ไอ อัย
|
ใอ
|
อะ
|
ย สะกด
|
ใอ อัย
|
เอา
|
อะ
|
ว สะกด
|
เอา
|
ฤ
|
อึ
|
ร ประสม
|
รึ
|
ฤๅ
|
อือ
|
ร ประสม
|
รือ
|
ฦ
|
อึ
|
ล ประสม
|
ลึ
|
ฦๅ
|
อือ
|
ล ประสม
|
ลือ
|
เสียงพยัญชนะ
เสียงพยัญชนะ เป็นเสียงที่ถูกกักก่อนที่จะปล่อยออกทางปากหรือจมูก มี ๒๑ เสียงจาก ๔๔ รูป จำแนกได้ ดังนี้
รูปพยัญชนะ
|
สัญลักษณ์เสียง
|
๑.ก
|
/ก/
|
๒.ข ฃ ค ฅ ฆ
|
/ค/
|
๓.ง หง (หงาย)
|
/ง/
|
๔.จ
|
/จ/
|
๕.ฉ ช ฌ
|
/ช/
|
๖.ซ ศ ษ ส
|
/ซ/
|
๗.ฎ ด
|
/ด/
|
๘.ฏ ต
|
/ต/
|
๙.ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ
|
/ท/
|
๑๐.ณ น หน (หนา)
|
/น/
|
๑๑.บ
|
/บ/
|
๑๒.ป
|
/ป/
|
๑๓.ผ พ ภ
|
/พ/
|
๑๔.ฝ ฟ
|
/ฟ/
|
๑๕.ม หม (หมู)
|
/ม/
|
๑๖.ญ ย หญ (หญ้า) หย (หยิบ)
| |
อย (อย่า อยู่ อย่าง อยาก)
|
/ย/
|
๑๗.ร หร (หรู)
|
/ร/
|
๑๘.ล ฬ หล (หลา)
|
/ล/
|
๑๙.ว หว (หวี)
|
/ว/
|
๒๐.อ
|
/อ/
|
๒๑.ห ฮ
|
/ฮ/
|
๑. เสียงพยัญชนะต้นพยางค์ เสียงพยัญชนะ ๒๑ เสียง สามารถเป็นเสียงพยัญชนะต้นได้ทั้งหมด
๒. เสียงพยัญชนะควบกล้ำ คือ พยัญชนะต้น ๒ ตัว ประสมสระเดียวกัน และออกเสียงพร้อมกัน
- คำไทยแท้ พยัญชนะที่ออกเสียงควบกล้ำได้ คือ ร ล ว เช่น เกรง กล้า ครู คลี่ คว้า พร้อม แผล เปรียบ
- ภาษาอื่น เช่น เช่น จันทรา ฟรี ฟลุก ดราฟต์ บรั่นดี บล็อก
๓. เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ มี ๘ มาตรา (กก กง กด กน กบ กม เกย เกอว) ส่วนพยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะสะกดจัดอยู่ในมาตราแม่ ก กา
เสียงวรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์ เกิดจากเส้นเสียงเปลี่ยนระดับสูงต่ำ ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไป มี ๕ เสียง คือเสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา โดยจำแนกได้เป็น ๒ พวก ได้แก่
– วรรณยุกต์ระดับ มีระดับเสียงคงที่ ได้แก่ สามัญ เอก และตรี
– วรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ ระดับเสียงมักเปลี่ยนแปลง ได้แก่ โท (จากสูงลงต่ำ) และจัตวา (จากต่ำขึ้นสูง)
หลักการเทียบเสียงวรรณยุกต์
อักษรกลางคำเป็น ผันได้ครบ ๕ เสียง ตามรูปของวรรณยุกต์ หากไม่มีรูปวรรณยุกต์จะเป็นเสียงสามัญ
อักษรกลางคำตาย ผันได้ ๔ เสียง เป็นเสียงโท ตรี จัตวา ตามรูปวรรณยุกต์ หากไม่มีรูปวรรณยุกต์จะเป็นเสียงเอก
อักขรวิธีและอักษรไทย
ประวัติอักษรไทย
อักษรไทยถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จากนั้นก็ได้รับการพัฒนาเรื่อยมา ปัจจุบันแบบการเขียนภาษาไทยอยู่ภายใต้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน โดยจะมีการปรับปรุงในการพิมพ์แต่ละครั้ง
ลักษณะของอักษรไทย
ประกอบด้วย รูปสระ รูปพยัญชนะ และรูปวรรณยุกต์
รูปสระ
รูป
|
ชื่อ
|
๑. ะ
|
วิสรรชนีย์
|
๒. ั
|
ไม้หันอากาศ, ไม้ผัด
|
๓.
|
ไม้ไต่คู้
|
๔. า
|
ลากข้าง
|
๕. ิ
|
พินทุอิ
|
๖.
|
ฝนทอง
|
๗. ◦
|
นฤคหิต, หยาดน้ำค้าง
|
๘. "
|
ฟันหนู
|
๙. ุ
|
ตีนเหยียด
|
๑๐. ู
|
ตีนคู้
|
๑๑. เ
|
ไม้หน้า
|
๑๒. ใ
|
ไม้ม้วน
|
๑๓. ไ
|
ไม้มลาย
|
๑๔. โ
|
ไม้โอ
|
๑๕. อ
|
ตัวออ
|
๑๖. ว
|
ตัววอ
|
๑๗. ย
|
ตัวยอ
|
๑๘. ฤ
|
ตัวรึ
|
๑๙. ฤๅ
|
ตัวรือ
|
๒๐. ฦ
|
ตัวลึ
|
๒๑. ฦๅ
|
ตัวลือ
|
การใช้รูปสระ
สระ ๒๑ รูปใช้แทนเสียงสระ ๓๒ เสียง บางเสียงใช้สระรูปเดียว บางเสียงใช้สระหลายรูปประกอบกัน ดังนี้
เสียง
|
รูป
|
จำนวนรูป
|
๑. อะ
|
ะ
|
๑
|
๒. อา
|
า
|
๑
|
๓. อิ
|
อิ
|
๑
|
๔. อี
|
อี
|
๒
|
๕. อึ
|
อึ
|
๒
|
๖. อื
|
อื
|
๒
|
๗. อุ
|
อุ
|
๑
|
๘. อู
|
อู
|
๑
|
๙. เอะ
|
เ-ะ
|
๒
|
๑๐. เอ
|
เ-
|
๑
|
๑๑. แอะ
|
แ-ะ
|
๓
|
๑๒. แอ
|
แ-
|
๒
|
๑๓. เอียะ
|
เ-ียะ
|
๕
|
๑๔. เอีย
|
เ-ีย
|
๔
|
๑๕. เอือะ
|
เ-ือะ
|
๕
|
๑๖. เอือ
|
เ-ือ
|
๔
|
๑๗. อัวะ
|
-ัวะ
|
๓
|
๑๘. อัว
|
-ัว
|
๒
|
๑๙. โอะ
|
โ-ะ
|
๒
|
๒๐. โอ
|
โ-
|
๑
|
๒๑. เอาะ
|
เ-าะ
|
๓
|
๒๒. ออ
|
-อ
|
๑
|
๒๓. เออะ
|
เ-อะ
|
๓
|
๒๔. เออ
|
เ-อ
|
๒
|
๒๕. อะ ม สะกด
|
-ำ
|
๒
|
๒๖. อะ ย สะกด
|
ใ-
|
๑
|
๒๗. อะ ย สะกด
|
ไ-
|
๑
|
๒๘. อะ ว สะกด
|
เ-า
|
๒
|
๒๙. อิ อึ เออ มี ร ประสม
|
ฤ
|
๑
|
๓๐. อือ มี ร ประสม
|
ฤๅ
|
๑
|
๓๑. อึ มี ล ประสม
|
ฦ
|
๑
|
๓๒. อือ มี ล ประสม
|
ฦๅ
|
๑
|
การประกอบรูปสระ
เมื่อนำรูปสระไปประกอบเป็นพยางค์หรือคำ อาจใช้ตามรูปเดิมบ้าง เปลี่ยนแปลงรูปใหม่บ้าง หรือลดรูป (ไม่ปรากฏรูป) บ้าง เช่น กัน,พรรค (เปลี่ยนรูป -ะ) กา (คงรูป -า) เข็ม (เปลี่ยนรูป เ-ะ) ปม (ลดรูป โ-ะ)
รูปพยัญชนะ
หน้าที่ของพยัญชนะ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นพยางค์ และพยัญชนะแท้
อักษรสามหมู่หรือไตรยางศ์
ไตรยางศ์ คือการแบ่งพยัญชนะเป็น ๓ กลุ่ม เพื่อสะดวกในการผันเสียงวรรณยุกต์ โดยอักษรที่ผันได้ครบ ๕ เสียง คือ อักษรกลางในแถวที่ ๑ ส่วนอักษรที่ผันได้ไม่ครบ ๕ เสียง ได้แก่ อักษรสูงในแถวที่ ๒ และอักษรต่ำในแถวที่ ๓ ๔ ๕ และเศษวรรค (อักษรคู่ในแถวที่ ๓ ๔ และอักษรเดี่ยวในแถวที่ ๕ และเศษวรรค)
วรรค
|
แถวที่ ๑
|
แถวที่ ๒
|
แถวที่ ๓
|
แถวที่ ๔
|
แถวที่ ๕
|
วรรค ก
|
ก
|
ข ฃ
|
ค ฅ
|
ฆ
|
ง
|
วรรค จ
|
จ
|
ฉ
|
ช
|
ฌ
|
ญ
|
วรรค ฏ
|
ฎ ฏ
|
ฐ
|
ฑ
|
ฒ
|
ณ
|
วรรค ต
|
ด ต
|
ถ
|
ท
|
ธ
|
น
|
วรรค ป
|
บ ป
|
ผ ฝ
|
พ ฟ
|
ภ
|
ม
|
เศษวรรค
|
อ
|
ศ ษ ส ห
|
ซ ฮ
|
ย ร ล ว ฬ
|
รูปวรรณยุกต์
รูปวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ โดยเสียงวรรณยุกต์สัมพันธ์กับ คำเป็น คำตาย อักษรคู่ อักษรเดียว อักษรนำ–อักษรตาม และอักษรควบ
คำเป็นคำตาย
คำเป็น ประสมสระเสียงยาวในแม่ ก กา หรือมีตัวสะกดในแม่ กน กม เกย เกอว กง หรือประสม อำ ใอ ไอ เอา
คำตาย ประสมสระเสียงสั้นในแม่ ก กา ยกเว้น อำ ใอ ไอ เอา หรือมีตัวสะกดในแม่ กบ กด กก
การผันวรรณยุกต์ของอักษรสามหมู่
อักษรกลาง คำเป็นผันได้ครบ ๕ เสียง คำตายผันได้ ๔ เสียง
สามัญ
|
เอก
|
โท
|
ตรี
|
จัตวา
| |
คำเป็น
|
กา
|
ก่า
|
ก้า
|
ก๊า
|
ก๋า
|
คำตาย
|
–
|
กะ
|
ก้ะ
|
ก๊ะ
|
ก๋ะ
|
อักษรสูง คำเป็นผันได้ ๓ เสียง คำตายผันได้ ๒ เสียง
สามัญ
|
เอก
|
โท
|
ตรี
|
จัตวา
| |
คำเป็น
|
ข่า
|
ข้า
|
ขา
| ||
คำตาย
|
–
|
ขะ
|
ข้ะ
|
อักษรต่ำ คำเป็นผันได้ ๓ เสียง คำตายผันได้ ๓ เสียง
สามัญ
|
เอก
|
โท
|
ตรี
|
จัตวา
| |
คำเป็น
|
คา
|
–
|
ค่า
|
ค้า
|
–
|
คำตายสระเสียงสั้น
|
–
|
–
|
ค่ะ
|
คะ
|
ค๋ะ
|
คำตายสระเสียงยาว
|
–
|
–
|
โนต
|
โน้ต
|
โน๋ต
|
การผันอักษรคู่ อักษรเดี่ยว
อักษรคู่ อักษรสูงและอักษรต่ำที่คู่กันและเป็นคำเป็น จะผันได้ครบ ๕ เสียง เช่น
สามัญ
|
เอก
|
โท
|
ตรี
|
จัตวา
|
คา
|
ข่า
|
ข้า
|
ค้า
|
ขา
|
อักษรเดี่ยว ถ้าอักษรเดี่ยวเป็นตัวตามของอักษรนำหรืออักษรควบ จะผันวรรณยุกต์ตามอักษรตัวนำ
อักษรนำ ออกเสียงแตกต่างกันตามลักษณะ ดังนี้
– อักษรตามเป็นอักษรกลาง/อักษรคู่ ออกเสียงตัวตามตามสระที่ประสมอยู่ และตามเสียงวรรณยุกต์ของตัวตาม เช่น แสดง (สะ–แดง) เผชิญ (ผะ-เชิน)
– อักษรตามเป็นอักษรเดี่ยว ออกเสียงวรรณยุกต์ของตัวตามเหมือนอักษรตัวนำ เช่น ขยี้ (ขะ-หยี้)
– ห นำอักษรเดี่ยว หรือ อ นำ ย ออกเสียงพยางค์เดียว และใช้วรรณยุกต์ตามอักษรตัวนำ
อักษรควบ แบ่งเป็น อักษรควบแท้ (ออกเสียงพยัญชนะ ๒ ตัวพร้อมกัน) และอักษรควบไม่แท้ (ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวแรก หรือออกเสียง ทร เป็น ซ)
พยางค์และคำในภาษาไทย
พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจะมีความหมายหรือไม่ก็ได้ หากเสียงนั้นมีความหมาย เรียกว่า คำ
การประสมอักษร
การประสมอักษร เป็นการนำ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์มาสร้างเป็นพยางค์ โดยบางพยางค์อาจมีความหมายสมบูรณ์เป็นคำ
คำพยางค์เดียว สามารถประสมอักษรได้ ๔ วิธี
๑. การประสมสามส่วน =พยัญชนะต้น +สระ +วรรณยุกต์ เช่น ค้า เช่า
๒. การประสมสี่ส่วน =พยัญชนะต้น +สระ +พยัญชนะท้าย +วรรณยุกต์ เช่น พัด บ้าน
๓. การประสมสี่ส่วนพิเศษ =พยัญชนะต้น +สระ +ตัวการันต์ +วรรณยุกต์ เช่น เล่ห์
๔. การประสมห้าส่วน =พยัญชนะต้น +สระ +พยัญชนะท้าย +ตัวการันต์ +วรรณยุกต์ เช่น รักษ์
คำมากพยางค์
คำมากพยางค์ ต้องแยกทีละพยางค์แล้วประสมอักษรเหมือนคำพยางค์เดียว เช่น ซื่อสัตย์ แยกเป็น ๒ พยางค์ คือ ซื่อ เป็นการผสมอักษรสามส่วน กับ สัตย์ เป็นการประสมอักษรห้าส่วน
สรุป
ภาษาไทยมีตัวอักษรที่ใช้แทนเสียง ๓ ชนิด คือ สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของพยางค์หรือคำที่ใช้สื่อความหมายให้เข้าใจตรงกันในสังคม
คำสำคัญ พยัญชนะ, สระ, วรรณยุกต์, การประสมอักษร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น