yanisa36421
วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
คริสต์ศาสนา
พระสังฆราชฌัง-บัปติสต์ ปัลเลอกัวซ์ (Bishop Jean-Baptiste Pallegoix) นับเป็นผู้มีคุณูปการอย่างมากต่อประเทศสยาม ด้วยเป็นผู้มีความรู้ทางด้านภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ การชุบแร่โลหะ วิชาไฟฟ้าและวิชาถ่ายรูป โดยส่วนใหญ่เกิดจากการอ่านตำรับตำราและทดลองทำด้วยตนเองจนประสบผลสำเร็จ แล้วท่านได้นำเอาวิทยาการแผนใหม่เหล่านี้เข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ส่งผลให้ชาวสยามได้นำเอาความรู้เหล่านี้มาใช้ในการพัฒนาประเทศของตนให้มีความศิวิไลซ์ (Civilization) เทียมเท่านานาอารยประเทศ
พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ถือกำเนิดที่เมืองกอมแบรโตลท์ (Combertault) จังหวัดโกต-ดอร์ (C?te-d’Or) ในแคว้นบูร์กอญ (Bourgogne) ทางฝั่งตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๐๕ (พ.ศ. ๒๓๔๘)ท่านได้เข้ารับการอบรมสำหรับเตรียมตัวเป็นพระสงฆ์ที่บ้านเณรใหญ่ในเมืองลียง (Lyon) ขณะอายุได้ ๑๗ ปี แล้วมาเป็นอาจารย์สอนเทววิทยาของบ้านเณรซัมเบรีใน ค.ศ. ๑๘๒๔ (พ.ศ. ๒๓๖๗) โดยท่านได้อาศัยเวลาช่วงพักร้อนในห้อง ค.ศ. ๑๘๒๖ (พ.ศ. ๒๓๖๙) เขียนประวัติย่อของนักบุญฟรังซัวส์ ซาเวียร์ (Saint Francois Xavier) ผู้เผยแผ่พระคริสต์ศาสนาท่านแรกของคณะมิสซังคาทอลิกในดินแดนตะวันออกไกล
เมอซิเยอร์ปัลเลอกัวซ์ได้ย้ายมาอยู่ที่สามเณราลัยคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (S'minaire des Missions'trang'res de Paris หรือนิยมเรียกอย่างย่อว่า M.E.P.) บนถนนบัค (Rue de Bac) เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๒๗ (พ.ศ. ๒๓๗๐) และท่านได้รับศีลบรรพชาเป็นพระในพระคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๒๘ (พ.ศ. ๒๓๗๑) ขณะอายุได้ ๒๓ ปี โดยทางคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสได้มอบหมายให้บาทหลวงปัลเลอกัวซ์และบาทหลวงแดส์ชาวานส์ (M. Deschavanes) เป็นธรรมทูตเดินทางไปเผยแผ่พระคริสต์ศาสนายังกรุงสยาม
บาทหลวงปัลเลอกัวซ์และบาทหลวงแดส์ชาวานส์ ออกเดินทางจากท่าเรือเมืองฮาฟร์ (Havre) ในวันที่ ๓๑ สิงหาคมศกเดียวกันนั้น โดยมาพักอยู่ที่เมืองมาเก๊า (Macao) เป็นเวลานานหลายเดือนจึงเดินทางต่อมายังเมืองสิงคโปร์ (Singapore) แล้วค่อยเดินทางเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ในต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์พ.ศ. ๒๓๖๗-๙๔) เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๓๐ (พ.ศ. ๒๓๗๓) ขณะอายุได้ ๒๕ ปี บาทหลวงปัลเลอกัวซ์ได้มาพำนักอยู่ที่วัดอัสสัมชัญ (Assumption Church) ตำบลบางรัก ในขณะนั้นท่านยังไม่รู้ภาษาไทยเลยแม้แต่คำเดียว จึงลงทุนลงแรงเรียนรู้ภาษาไทยอยู่หลายเดือน จึงค่อยเริ่มต้นทำงานเผยแผ่พระคริสต์ศาสนาในหมู่พวกนอกรีต (gentile) ชาวจีน
แนะะนว
การแนะแนว หมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้ บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม สามารถนำตนเองได้ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
การแนะแนวไม่ใช่การแนะนำ อาจกล่าวได้ว่าการแนะแนวเป็นการช่วยเหลือ ให้เขาสามารถช่วยตนเองได้
ความสำคัญของการแนะแนว
จุดหมายของการแนะแนว คือการป้องกันปัญหา แก้ไขพฤติกรรมทุกอย่างที่ผิดปกติและการพัฒนาให้ทุกคนไปสู่จุดหมายของชีวิตที่ต้องการ
จุดหมายของการแนะแนว คือการป้องกันปัญหา แก้ไขพฤติกรรมทุกอย่างที่ผิดปกติและการพัฒนาให้ทุกคนไปสู่จุดหมายของชีวิตที่ต้องการ
ความสำคัญของการแนะแนว
กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน เสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ การเรียนรู้ในเชิงพหุปัญญา และการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ซึ่งครูแนะแนวทุกคนต้องทำหน้าที่แนะแนว ให้คำปรึกษาด้านชีวิต การศึกษาต่อ และการพัฒนาตนเองสู่โลกอาชีพและการมีงานทำ
กิจกรรมแนะแนว ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีความสุข
หน้าที่และหลักการแนะแนว
ปรัชญาของการแนะแนว
1. บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่าง
2. มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงยิ่ง
3. บุคคลย่อมมีศักดิ์ศรีและศักยภาพประจำตัว
4. บุคคลแต่ละคนย่อมต้องการความช่วยเหลือ
5. บุคคลจะมีความสุขเมื่อได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ในด้านต่าง ๆ
6. พฤติกรรมทุกอย่างย่อมมีสาเหตุ
หลักการสำคัญของการแนะแนว
การจัดกิจกรรมแนะแนวจะต้องจัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การที่จะให้งานบริการแนะแนวบรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้น จำเป็นจะต้องคำนึงถึงหลักการแนะแนวที่มีการวางแผนการดำเนินงานให้เหมาะสม ดังนั้นอาจารย์แนะแนวจึงควรยึดถือหลักการสำคัญของการจัดกิจกรรมแนะแนว เพื่อเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. การแนะแนวเป็นบริการที่ต้องจัดให้กับบุคคลทุกคนไม่ใช่เฉพาะนักศึกษาที่มีปัญหาเท่านั้น
2.การแนะแนวตั้งอยู่บนรากฐานของการยอมรับในศักดิ์ศรีและคุณค่าของแต่ละคนและยอมรับในสิทธิส่วนตัวในการตัดสินใจที่จะเลือกทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
3. การแนะแนวเป็นกระบวนการเกี่ยวกับการศึกษาที่ต้องปฏิบัติต่อเนื่องกันและเป็นไปตามลำดับขั้น
4. การแนะแนวจะต้องเกิดจากความร่วมมือไม่ใช่การบังคับ
5. การแนะแนวเน้นในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
6. การแนะแนวเน้นในเรื่องของการเข้าใจตนเอง การตัดสินใจด้วยตนเอง และการปรับตัว ด้วยตนเอง
7. การแนะแนวเน้นในเรื่องการป้องกันปัญหามากกว่าการแก้ไขปัญหา
8. การแนะแนวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการศึกษา
9. การแนะแนวที่มีประสิทธิภาพจะต้องเกิดจากความร่วมมือ และความเต็มใจของบุคลากร ทุกฝ่ายในมหาวิทยาลัย และนักศึกษาผู้มารับบริการ
10.การแนะแนวจะต้องจัดบริการให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ (1) การแนะแนวการศึกษา (2) การแนะแนวอาชีพ (3) การแนะแนวส่วนตัวและสังคม
ประโยชน์ของการแนะแนว
1. ประโยชน์แก่ผู้ปกครองหรือบิดามารดา
1.1 ได้รับรู้และเข้าใจสถานภาพทางการเรียนของบุตรหลานของท่าน เมื่อท่านได้มีโอกาสปรึกษาหารือกับครูแนะแนว
1.2 ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสที่บุตรหลานของท่านจะได้เรียนต่อหรือออกไปประกอบอาชีพ
1.3 รับรู้และเข้าใจสภาพปัญหาของเด็กวัยรุ่นเพื่อจะได้ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการปรับปรุงพฤติกรรมของบุตรหลานของท่านต่อไป
1.1 ได้รับรู้และเข้าใจสถานภาพทางการเรียนของบุตรหลานของท่าน เมื่อท่านได้มีโอกาสปรึกษาหารือกับครูแนะแนว
1.2 ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสที่บุตรหลานของท่านจะได้เรียนต่อหรือออกไปประกอบอาชีพ
1.3 รับรู้และเข้าใจสภาพปัญหาของเด็กวัยรุ่นเพื่อจะได้ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการปรับปรุงพฤติกรรมของบุตรหลานของท่านต่อไป
2. ประโยชน์ต่อนักเรียน
2.1 ช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเองดีขึ้นและสามารถปรับปรุงตนเองในด้านการเรียน สังคมอารมณ์และสติปัญญา
2.2 ช่วยให้นักเรียนตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างฉลาดและมีเหตุผล
2.3 ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ปัญหาเพื่อสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมายและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
2.1 ช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเองดีขึ้นและสามารถปรับปรุงตนเองในด้านการเรียน สังคมอารมณ์และสติปัญญา
2.2 ช่วยให้นักเรียนตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างฉลาดและมีเหตุผล
2.3 ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ปัญหาเพื่อสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมายและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
3. ประโยชน์แก่ครู
3.1 ช่วยครูให้เข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหารวมทั้งหาวิธีแก้ปัญหานั้น
3.2 ช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
3.3 ช่วยครูในการศึกษานักเรียนทำให้รู้จักนักเรียนดีขึ้น
3.1 ช่วยครูให้เข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหารวมทั้งหาวิธีแก้ปัญหานั้น
3.2 ช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
3.3 ช่วยครูในการศึกษานักเรียนทำให้รู้จักนักเรียนดีขึ้น
4. ประโยชน์แก่โรงเรียน
4.1 ช่วยโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
4.2 ช่วยลดปัญหาต่าง ๆ เช่นปัญหานักเรียนเรียนไม่จบหลักสูตร หรือปัญหานักเรียนเรียนอ่อน หรือหนีเรียน เป็นต้น
4.1 ช่วยโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
4.2 ช่วยลดปัญหาต่าง ๆ เช่นปัญหานักเรียนเรียนไม่จบหลักสูตร หรือปัญหานักเรียนเรียนอ่อน หรือหนีเรียน เป็นต้น
ขอบข่ายของการจัดบริการแนะแนว
1. การแนะแนวการศึกษา ซึ่งมีขอบข่ายงานตั้งแต่ การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียน การฝึกทักษะหรือเทคนิคการเรียนที่มีประสิทธิภาพ การวางแผนการเรียนที่ดี การรู้ช่องทางการศึกษาและการเลือกทางศึกษาต่อ ตลอดทั้งการสร้างนิสัยเรียนรู้ตลอดชีวิต
2.การแนะแนวศึกษาต่อด้านอาชีพ ซึ่งมีขอบข่ายงานตั้งแต่การสร้างเจตคติที่ดีต่อการทำงานและการประกอบอาชีพ การสร้างความตระหนัก รับรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอาชีพ การสำรวจอาชีพ การตัดสินใจและวางแผนด้านอาชีพ การเตรียมตัวเพื่ออาชีพ การเข้าสู่อาชีพและการพัฒนาตนเองเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ ตลอดทั้งการปรับตนในการทำงาน การเปลี่ยนงานและเกษียณจากงาน
3. การแนะแนวส่วนตัวและสังคม ซึ่งมีขอบข่ายงานตั้งแต่การรู้จักชีวิตและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การรู้จักตนเองและรู้คุณค่าของตน การรู้จักปรับตัวและแก้ปัญหา การพัฒนาตนเอง การฝึกทักษะชีวิตและทักษะทางสังคม เพื่อให้บุคลิกภาพ สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี
ลูกเสือ-เนตรนารี
เสียชีพอย่าเสียสัตย์” เป็นคำขวัญพระราชทานของลูกเสือ สาระพื้นฐานที่สอนในวิชาลูกเสือระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา คือ กฎของลูกเสือ 10 ข้อได้แก่ 1) ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้ 2) ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ 3) ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น 4) ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก 5) ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย 6) ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ 7) ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดา และผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ 8) ลูกเสือมีใจร่าเริง และไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก 9) ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์ และ 10) ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ
ประวัติลูกเสือกิจการการลูกเสือได้เกิดขึ้นแห่งแรกของโลกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) โดย ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) เรียกย่อว่า "บี พี" สืบเนื่องจากการรบกับพวกบัวร์ (Boar) ในการรักษาเมือง “มาฟิคิง” (Mafeking) ที่แอฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2442 ซึ่ง “บี พี” ได้ตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแนมการรบ จนรบชนะข้าศึกเมื่อกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทดลองนำเด็กชาย 20 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่ “เกาะบราวน์ซี” (Browmsea Islands) ซึ่งได้ผลดีตามที่คาดหมายไว้ ปี พ.ศ. 2451 “บี พี” จึงได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ
สำหรับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษาได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมือง “มาฟิคิง” (Mafeking) ของ ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ก็ได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนให้เรียนรู้วิชาทหาร รู้จักระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) ได้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ด้วยทรงมีพระราชปรารภว่า “เมื่อ ฝึกผู้ใหญ่เป็นเสือป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้าน เมือง” จากนั้น ทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ” ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ นายชัพท์ บุนนาค ซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายลิขิตสารสนอง”การยังชีพในป่า
เนื้อหาของวิชาลูกเสือสอนให้รู้จักใช้ชีวิตและเอาตัวรอดได้ในสถานการณ์ยากลำบาก การดำรงชีพในป่า การใช้อาวุธ การปฐมพยาบาล การทำอาหารแบบชาวป่า ล้วนเป็นการเตรียมพร้อมให้กับลูกเสือที่อาจจะต้องใช้ชีวิตด้วยความยากลำบาก เช่น ในยามสงคราม มีการสู้รบ หรือในภารกิจที่ต้องอยู่ในป่าเพื่อทำการศึกษาวิจัย สำรวจ หรือ เป็นกิจกรรมการเดินป่าเพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อน ทั้งนี้รวมถึงผู้ที่มีอาชีพที่ต้องทำงานในป่าตลอดเวลาเช่น เจ้าหน้าที่ของอุทยาน เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ทหาร ตำรวจตะเวนชายแดน เป็นต้น
ประวัติลูกเสือกิจการการลูกเสือได้เกิดขึ้นแห่งแรกของโลกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) โดย ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) เรียกย่อว่า "บี พี" สืบเนื่องจากการรบกับพวกบัวร์ (Boar) ในการรักษาเมือง “มาฟิคิง” (Mafeking) ที่แอฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2442 ซึ่ง “บี พี” ได้ตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแนมการรบ จนรบชนะข้าศึกเมื่อกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทดลองนำเด็กชาย 20 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่ “เกาะบราวน์ซี” (Browmsea Islands) ซึ่งได้ผลดีตามที่คาดหมายไว้ ปี พ.ศ. 2451 “บี พี” จึงได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ
สำหรับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษาได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมือง “มาฟิคิง” (Mafeking) ของ ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ก็ได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนให้เรียนรู้วิชาทหาร รู้จักระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) ได้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ด้วยทรงมีพระราชปรารภว่า “เมื่อ ฝึกผู้ใหญ่เป็นเสือป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้าน เมือง” จากนั้น ทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ” ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ นายชัพท์ บุนนาค ซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายลิขิตสารสนอง”การยังชีพในป่า
เนื้อหาของวิชาลูกเสือสอนให้รู้จักใช้ชีวิตและเอาตัวรอดได้ในสถานการณ์ยากลำบาก การดำรงชีพในป่า การใช้อาวุธ การปฐมพยาบาล การทำอาหารแบบชาวป่า ล้วนเป็นการเตรียมพร้อมให้กับลูกเสือที่อาจจะต้องใช้ชีวิตด้วยความยากลำบาก เช่น ในยามสงคราม มีการสู้รบ หรือในภารกิจที่ต้องอยู่ในป่าเพื่อทำการศึกษาวิจัย สำรวจ หรือ เป็นกิจกรรมการเดินป่าเพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อน ทั้งนี้รวมถึงผู้ที่มีอาชีพที่ต้องทำงานในป่าตลอดเวลาเช่น เจ้าหน้าที่ของอุทยาน เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ทหาร ตำรวจตะเวนชายแดน เป็นต้น
ภาษาจีน
คำศัพท์ | พินอิน | คำอ่าน | ความหมาย |
科目 | kēmù | เคอมู่ | วิชา |
医学 | yīxué | อีเสีย | แพทย์ศาสตร์ |
物理学 | wùlǐxué | อู้หลี่เสีย | ฟิสิกส์ |
语言学 | yǔyánxué | ยวี่เหยียนเสีย | ภาษาศาสตร์ |
哲学 | zhéxué | เจ๋อเสีย | ปรัชญา |
历史 | lìshǐ | ลี่สื่อ | ประวัติศาสตร์ |
法学 | fǎxué | ฝ่าเสีย | นิติศาสตร์ |
生物学 | shēngwùxué | เซิงอู้เสีย | ชีววิทยา |
化学 | huàxué | ฮว่าเสีย | เคมี |
数学 | shùxué | ซุ่เสีย | คณิตศาสตร์ |
经济学 | jīngjìxué | จิ้งจื่อ | เศรษศาสตร์ |
教育学 | jiàoyùxué | เจี้ยวยวี่เสีย | ศึกษาศาตร์ |
人文学科 | rénwénkēxué | เหรินเหวินเคอเสีย | ศิลปศาสตร์ |
工程学 | gōngchēngxué | กงเฉิงชือ | วิศวกรรมศาสตร์ |
文学 | wénxué | เหวินเสีย | วรรณคดี |
政治学 | zhèngzhìxué | เจิ้งจื่อเสีย | รัฐศาตร์ |
地理学 | dìlǐxué | ตี้หลี่เสีย | ภูมิศาสตร์ |
药学 | yàoxué | เย่าเสีย | เภสัชศาสตร์ |
ภาษาอังกฤษ
การเรียนภาษาอังกฤษในประเทศออสเตรเลียเป็นอะไรที่มากกว่าการท่องจำในห้องเรียน วิธีการเรียนการสอนของเรามุ่งเน้นไปที่การคิดเชิงวิพากษ์ เช่นเดียวกับการทำงานกลุ่มและทำโครงงาน ซึ่งทั้งหมดนั้นจะมาจากประสบการณ์ในชีวิตจริง นั่นก็หมายความว่าไม่ใช่แค่เพียงการเรียนรู้ภาษาเท่านั้นแต่เป็นการเรียนรู้การใช้ชีวิตประจำวันด้วยเช่นกัน
การศึกษาในประเทศออสเตรเลียจะทำให้คุณได้รับทักษะชีวิตที่หลากหลายที่ไม่อาจหาได้จากที่บ้าน ทักษะที่ประเมินค่าไม่ได้ เช่น การแก้ปัญหา การเป็นผู้นำทีมที่มีผู้คนหลากหลาย และการใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริง เป็นความสามารถที่จะได้รับสำหรับชีวิตที่เหลืออยู่ของคุณ การผสมผสานทางด้านวัฒนธรรมของนักศึกษาด้วยการอำนวยความสะดวกของเรา คุณจะได้เรียนภาษาอื่น ๆ ในโลกในสภาพแวดล้อมแบบนานาชาติอย่างแท้จริง
เรารักษาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของเราให้มีคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่องไม่ว่าคุณจะเรียนที่ใดหรือเลือกหลักสูตรไหน เนื่องจากเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีกรอบการรับรองคุณภาพทางการศึกษาเพื่อรักษามาตรฐานระดับชาติเอาไว้ เช่นเดียวกับความสอดคล้องกันของความคิดเห็นด้านคุณภาพและการตรวจสอบประสิทธิภาพ คุณสามารถมั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีคุณภาพสูง
ประเภทของการฝึกอบรมภาษาอังกฤษ
ออสเตรเลียนำเสนอหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษเป็นช่วงเพื่อให้เหมาะกับความต้องการของการศึกษาที่แตกต่างกัน
ภาษาอังกฤษทั่วไป
- เป้าหมาย - เพื่อปรับปรุงความสามารถทั่วไปเพื่อให้สามารถเข้าถึงหลักสูตรระดับที่สูงขึ้นได้ เพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษของคุณสำหรับการเดินทางหรือการทำงานอิสระ ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ
- คำอธิบายหลักสูตร - มุ่งเน้นในเรื่องทักษะการสื่อสารโดยให้ความสำคัญกับการพูดและการฟัง
ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา
- เป้าหมาย - คุณต้องการศึกษาต่อในโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย
- คำอธิบายหลักสูตร - เตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาในมหาวิทยาลัย การศึกษาขั้นสูง และสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพที่สื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา
- เป้าหมาย - คุณต้องการที่จะเรียนรู้ที่จะพูดและเขียนภาษาอังกฤษที่จำเป็นสำหรับบริบทที่เฉพาะเจาะจง
- คำอธิบายหลักสูตร - มุ่งเน้นการฝึกภาษาอังกฤษสำหรับหลักสูตรที่เฉพาะเจาะจง เช่น ธุรกิจ การบิน หรือการท่องเที่ยว
การเตรียมสอบ
- เป้าหมาย - คุณต้องการเตรียมตัวสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ เช่น IELTS, TOEFL, TOEIC หรือ Cambridge First Certificate
- คำอธิบายหลักสูตร - เตรียมความพร้อมสำหรับการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษเพื่อการสอน
- เป้าหมาย - คุณต้องการกลับไปเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่ประเทศของคุณ
- คำอธิบายหลักสูตร - หลักสูตรนี้จะรวมถึง TESOL (การสอนภาษาอังกฤษสำหรับผู้ที่พูดภาษาอื่น ๆ ) EFTC (ภาษาอังกฤษที่ใช้สอนเด็ก)
ศิลปะ
นักปราชญ์ได้ให้ความหมายของศิลปะ (Art) ไว้ว่า ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้น ต้นไม้ ภูเขา ทะเล น้ำตก ความงดงามต่าง ๆ ตามธรรมชาติจึงไม่เป็นศิลปะ ดอกไม้ที่เห็นว่าสวยสดงดงามนักหนา ก็ไม่ได้เป็นศิลปะเลย ถ้าหากเรายึดถือตามความหมายนี้แล้ว
สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ภาพวาด ภาพพิมพ์ งานปั้น งานแกะสลัก เสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องประดับ ที่อยู่อาศัย
ยานพาหนะ เครื่องใช้สอย
สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ภาพวาด ภาพพิมพ์ งานปั้น งานแกะสลัก เสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องประดับ ที่อยู่อาศัย
ยานพาหนะ เครื่องใช้สอย
ดอกกุหลาบ ทิวทัศน์ธรชาติ
ความงามในงาน ศิลปะออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ความงามทางกาย (Physical Beauty) เป็นความงามของรูปทรงที่กำหนดเรื่องราว หรือเกิดจากการประสานกลมกลืนกันของทัศนธาตุ เป็นผลจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ
2.ความงามทางใจ (Moral Beauty) ได้แก่ ความรู้สึก หรืออารมณ์ ที่แสดงออกมาจากงานศิลปะหรือ ที่ผู้ชมสัมผัสได้จากงานศิลปะนั้น ๆ ในงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ๆ มีความงามทั้ง 2 ประเภทอยู่ร่วมกัน แต่อาจแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่ง มากน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของงาน เจตนาของผู้สร้างและการรับรู้ของผู้ชมด้วย
ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า “ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความงาม และความพึงพอใจ” ที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์สืบเนื่องกันมาตั้งแต่อดีตอันยาวนานจนถึงปัจจุบัน และจะสร้างสรรค์สืบต่อไปในอนาคตให้อยู่คู่กับเผ่าพันธุ์มนุษย์ไปตราบนานเท่านาน โดยมีการ สร้างสรรค์ พัฒนารูปแบบต่าง ๆ ออกไปอย่างมากมายไม่มีที่สิ้นสุด
คุณค่าของงานทัศนศิลป์
มีคนเป็นจำนวนมากยังไม่เข้าใจคุณค่าของงานทัศนศิลป์ คิดว่าทัศนศิลป์คือสิ่งที่เกินความจำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่ จริงอยู่ทัศนศิลป์มิใช่ปัจจัย 4 แต่ก็ให้ประโยชน์และมีคุณค่าต่อชีวิตมนุษย์ในด้านจิตใจและอารมณ์ไม่มากก็น้อย การที่มนุษย์ผู้นั้นจะรู้คุณค่าของงานทัศนศิลป์ได้นั้น ต้องเกิดความเข้าใจและเกิดความชื่นชม ศรัทธาเสียก่อน จึงจะรู้คุณค่าของงานทัศนศิลป์ได้ดี ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเรียนรู้คุณค่าของงานทัศนศิลป์ โดยผลงานทัศนศิลป์สามารถ แบ่งคุณค่าได้เป็น 2 คุณค่าใหญ่ๆ คือ
1. คุณค่าทางความงาม (Aesthetics Value) ความประณีตความละเอียดมีระเบียบ น่าทึ่ง มโหฬาร ประหลาด แปลกหูแปลกตา และเป็นสิ่งที่มีคุณงามความดีหรือดีเลิศทำให้ผู้พบเห็นเกิดความประทับใจไปอีกนาน สิ่งเหล่านี้เรียกรวมกันว่าคุณค่าทางความงาม ความงามที่มีอยู่ในงานทัศนศิลป์ เกิดจากการประสานกันของส่วนประกอบต่างๆ ของความงามเช่น จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสงเงา พื้นผิว ความกลมกลืน และการจัดภาพ เป็นต้น โดยผู้สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์จะแสดงออกตามความรู้สึก ในแต่ละเหตุการณ์แต่ละสังคม เพราะความงามของแต่ละสังคมย่อมมีความแตกต่างกัน ดังนั้นถ้าตั้งใจมองงานทัศนศิลป์ทั้ง 3 แขนง อย่างจริงจังโดยสังเกตพิจารณาวิเคราะห์ทุกมุม จะเห็นคุณค่าหรือเสน่ห์ในตัวเอง
2. คุณค่าทางเรื่องราว (Content Value) ผลงานทัศนศิลป์สามารถบอกเล่าเหตุการณ์ เรื่องราว ความเชื่อ และรสนิยมของมนุษย์ในสังคมแต่ละสมัยทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น การมองคุณค่าในแต่ละสมัยจึงมีความแตกต่างกันออกไป คุณค่าทางเรื่องราวที่นำมาสร้างสรรค์ในงานทัศนศิลป์ มีดังนี้
1. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
2. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อในสิ่งเร้นลับ ศรัทธา
3. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี
4. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง
5. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณคดี นิทานพื้นบ้าน สำนวน คำพังเพย สุภาษิต
7. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อในสิ่งเร้นลับ ศรัทธา
3. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี
4. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง
5. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณคดี นิทานพื้นบ้าน สำนวน คำพังเพย สุภาษิต
7. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทัศนธาตุ (Visual Elements)
ในทางทัศนศิลป์ หมายถึง ส่วนประกอบของศิลปะที่มองเห็นได้ ประกอบไปด้วย
1. จุด (Dot) หมายถึง รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ ปรากฎที่พื้นผิว ซึ่งเกิดจากการจิ้ม กด กระแทก ด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ดินสอ ปากกา พู่กัน และวัสดุปลายแหลมทุกชนิด จุด เป็นต้นกำเนิดของเส้น รูปร่าง รูปทรง แสงเงา พื้นผิว ฯลฯ เช่น นำจุดมาวางเรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้นและการนำจุดมาวาง
ให้เหมาะสม ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้
ให้เหมาะสม ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้
2. เส้น (Line) เป็นสิ่งที่มีผลต่อการรับรู้ เพราะทำให้เกิดความรู้สึกต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์ เส้นเป็นพื้นฐานสำคัญของศิลปะทุกแขนง ใช้ร่างภาพเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่เห็นและสิ่งที่คิดจินตนาการให้ปรากฏเป็นรูปภาพ
เส้น (Line) หมายถึง การนำจุดหลาย ๆ จุดมาเรียงต่อกันไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นทางยาว หรือสิ่งที่เกิดจากการขูด ขีด ขียน ลาก ให้เกิดเป็นริ้วรอย
- เส้นนอน ให้ความรู้สึกกว้างขวาง เงียบสงบ นิ่ง ราบเรียบ ผ่อนคลายสายตา
- เส้นตั้ง ให้ความรู้สึกสูงสง่า มั่นคง แข็งแรง รุ่งเรือง
- เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง เคลื่อนไหว รวดเร็ว แปรปรวน
- เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนไหว สุภาพอ่อนโยน สบาย นุ่มนวล เย้ายวน
- เส้นโค้งก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว การคลี่คลาย ขยายตัว มึนงง
- เส้นซิกแซกหรือเส้นฟันปลา ให้ความรู้สึกรุนแรง กระแทกเป็นห้วงๆ ตื่นเต้น สับสนวุ่นวาย และการขัดแย้ง
- เส้นประ ให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน
เส้นกับความรู้สึกที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่ง ไม่ใช่ความรู้สึกตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ร่วมกับส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น เส้นโค้งคว่ำลง ถ้านำไปเขียนเป็นภาพปากในใบหน้าการ์ตูนรูปคน ก็จะให้ความรู้สึกเศร้า ผิดหวัง เสียใจ แต่ถ้าเป็นเส้นโค้งหงายขึ้น ก็จะให้ความรู้สึกอารมณ์ดี เป็นต้น
- เส้นนอน ให้ความรู้สึกกว้างขวาง เงียบสงบ นิ่ง ราบเรียบ ผ่อนคลายสายตา
- เส้นตั้ง ให้ความรู้สึกสูงสง่า มั่นคง แข็งแรง รุ่งเรือง
- เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง เคลื่อนไหว รวดเร็ว แปรปรวน
- เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนไหว สุภาพอ่อนโยน สบาย นุ่มนวล เย้ายวน
- เส้นโค้งก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว การคลี่คลาย ขยายตัว มึนงง
- เส้นซิกแซกหรือเส้นฟันปลา ให้ความรู้สึกรุนแรง กระแทกเป็นห้วงๆ ตื่นเต้น สับสนวุ่นวาย และการขัดแย้ง
- เส้นประ ให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน
เส้นกับความรู้สึกที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่ง ไม่ใช่ความรู้สึกตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ร่วมกับส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น เส้นโค้งคว่ำลง ถ้านำไปเขียนเป็นภาพปากในใบหน้าการ์ตูนรูปคน ก็จะให้ความรู้สึกเศร้า ผิดหวัง เสียใจ แต่ถ้าเป็นเส้นโค้งหงายขึ้น ก็จะให้ความรู้สึกอารมณ์ดี เป็นต้น
3. รูปร่างและรูปทรง
รูปร่าง (Shape) หมายถึง เส้นรอบนอกทางกายภาพของวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ คน สัตว์ และ พืช มีลักษณะเป็น 2 มิติ มีความกว้าง และความยาว
รูปร่าง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- รูปร่างธรรมชาติ (Natural Shape) หมายถึง รูปร่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น คน สัตว์ และพืช เป็นต้น
รูปร่าง (Shape) หมายถึง เส้นรอบนอกทางกายภาพของวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ คน สัตว์ และ พืช มีลักษณะเป็น 2 มิติ มีความกว้าง และความยาว
รูปร่าง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- รูปร่างธรรมชาติ (Natural Shape) หมายถึง รูปร่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น คน สัตว์ และพืช เป็นต้น
- รูปร่างเรขาคณิต (Geometrical Shape) หมายถึง รูปร่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมีโครงสร้างแน่นอน เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม และรูปวงกลม เป็นต้น
- รูปร่างอิสระ (Free Shape) หมายถึง รูปร่างที่เกิดขึ้นตามความต้องการของผู้สร้างสรรค์ ให้ความรู้สึกที่เป็นเสรี ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนของตัวเอง เป็นไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม เช่น รูปร่างของหยดน้ำ เมฆ และควัน เป็นต้น
4. น้ำหนักอ่อน-แก่ (Value) หมายถึง จำนวนความเข้ม ความอ่อนของสีต่าง ๆ และแสงเงาตามที่ประสาทตารับรู้ เมื่อเทียบกับน้ำหนักของสีขาว-ดำ
ความอ่อนแก่ของแสงเงาทำให้เกิดมิติ เกิดระยะใกล้ไกลและสัมพันธ์กับเรื่องสีโดยตรง
ความอ่อนแก่ของแสงเงาทำให้เกิดมิติ เกิดระยะใกล้ไกลและสัมพันธ์กับเรื่องสีโดยตรง
5. สี (Colour) หมายถึง สิ่งที่ปรากฎอยู่ทั่้วไปรอบ ๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นสีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สีทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างมากมาย เช่น ทำให้รู้สึกสดใส ร่าเริง ตื่นเต้น หม่นหมอง หรือเศร้าซึมได้ เป็นต้น
6. บริเวณว่าง (Space) หมายถึง บริเวณที่เป็นความว่างไม่ใช่ส่วนที่เป็นรูปทรงหรือเนื้อหาในการจัดองค์ ประกอบใดก็ตาม ถ้าปล่อยให้มีพื้นที่ว่างมากและให้มีรูปทรงน้อย การจัดนั้นจะให้ความรู้สึกอ้างอ้าง โดดเดี่ยว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)